Burirum : บุรีรัมย์
"เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม"
การเดินทาง
บุรีรัมย์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 410 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดบุรีรัมย์ได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง และรถไฟ
- โดยรถไฟ:
มีรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงทุกวัน สายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี หรือนครราชสีมา-อุบลราชธานี ทั้งที่เป็นขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา และรถดีเซลราง ผ่านสถานีบุรีรัมย์ทุกขบวน รถดีเซลรางปรับอากาศจะใช้เวลาเดินทางน้อยกว่ารถยนต์มาก
ติดต่อสอบถามราย ละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 เว็บไซต์ www.railway.co.th - โดยรถยนตร์:
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรีเลี้ยวขวาเข้า ทางหลวงหมายเลข 2 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 224 และทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 410 กิโลเมตร - โดยรถประจำทาง:
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง
การเดินทางภายใน บุรีรัมย์
ในตัวเมืองบุรีรัมย์มีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะ ได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 2534
นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังแหล่งท่องเที่ยว เช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง หมู่บ้านทอผ้าไหมนาโพธิ์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่ง
ไป "บุรีรัมย์ตำน้ำกิน" เป็นคำพังเพยในอดีต ที่แสดงถึงภาวะการขาดแคลนน้ำในบริเวณพื้นที่ อันเป็นเขตการปกครองของจังหวัดบุรีรัมย์ในอดีต และแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของชาวบุรีรัมย์ สมัยก่อนที่นำความรู้เกี่ยวกับ ธรรมชาติมาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
กรรมวิธีที่ได้ชื่อว่าเป็น การตำน้ำกิน คือ การขุดหลุมดินขนาดย่อมขึ้นก่อน แล้วตัก เอาโคลนตมในบ่อ สระ หรือบึง มาใส่หลุมที่ขุดไว้ แล้วย่ำด้วยเท้าจนเป็นเลน หรือนำมาใส่ครุ ไม้ไผ่ยาชัน แล้วตำด้วยไม้ ให้โคนเลนมีความหนาแน่นสูงขึ้น ปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอน น้ำจาก โคลนเลนจะปรากฎเป็นน้ำใสอยู่ข้างบนตักไปใช้บริโภคได้ แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอันเป็น ปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้
"บุรีรัมย์ ตำน้ำกิน" เป็นคำพังเพยที่อยู่ในความทรงจำและความภาคภูมิใจในอดีต ของ ชาวบุรีรัมย์ ในฐานะที่เป็นคำพังเพยที่แสดงถึงความยากลำบาก และทรหดอดทนของบรรพบุรุษผู้ บุกเบิกแผ่นดิน ให้ประโยชน์ตกทอดแก่ลูกหลาน เหลน ในปัจจุบัน และในฐานะที่สามารถ นำความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อย่างเฉลียวฉลาด
ปัจจุบันภาวะเรื่องน้ำของจังหวัด บุรีรัมย์ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก กรมชลประทานได้สร้าง อ่างเก็บน้ำขนาดต่างๆ เพิ่มขึ้น และสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทก็ได้ปิดกั้นทำนบ เหมืองฝาย และ ขุดลอกห้วย หนอง คลอง บึง สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก สร้างสระน้ำมาตรฐานขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นสร้างถังเก็บน้ำฝน สระน้ำ บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล หอถังจ่ายน้ำ โดยสร้าง เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ความหมายและภาพพจน์ของคำพังเพยดังกล่าวได้หมดไปแล้วในปัจจุบัน
แหล่งท่องเที่ยว
บุรีรัมย์มีกิจกรรมท่องเที่ยวโดดเด่นคือ การเที่ยวชมปราสาทหิน บุรีรัมย์ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมขอมโบราณเลยทีเดียว ดังจะเห็นได้ว่ามีปราสาทหินอยู่มากมายตามอำเภอต่างๆ ดังนั้น การไปเที่ยวในจังหวัดนี้จึงเปรียบเสมือนการเที่ยวย้อนอดีต ชมความรุ่งเรืองแห่งอาณาจักรขอมโบราณ ไปบุรีรัมย์ทั้งทีต้องไปเยือนปราสาทหิน โดยเฉพาะปราสาทหินพนมรุ้ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ คือแสงอาทิตย์จะทำมุมลอดทะลุประตูทั้ง 15 บานของปราสาทได้อย่างพอดี นับเป็นช่วงเวลาที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง |
จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันถึง 4 กลุ่มชน จึงเป็นดินแดน ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมมากอีกแห่งหนึ่ง และในความหลากหลายนี้ก็มีความผสม กลมกลืนกัน แต่มีประเพณีบางอย่างที่มีลักษณะตามความเชื่อของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ประเพณี หลักของชาวบุรีรัมย์ก็เช่นเดียวกับชาวอีสานทั่วไป คือ ยึดมั่นใน "ฮีตสิบสอง" คือ มีประเพณี ประจำสิบสองเดือนในรอบปี เช่นเดียวกับชาวอีสานทั่วไป ประเพณีเฉพาะกลุ่มชนที่ปฏิบัติตาม ความเชื่อที่มีความแตกต่างกันไป ประเพณีสำคัญที่ยังคงปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบันของ กลุ่มไทยเขมรและไทยลาว ที่สำคัญมีดังนี้
งานมหกรรมว่าวอีสาน จัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี ที่บริเวณทางโค้งใกล้โรงโม่หิน ศิลาชัย ถนนสายบุรีรัมย์ – ประโคนชัย ในงานมีการแข่งขันว่าวประเภทต่างๆ เช่น ว่าวแอกโบราณ ว่าวแอกพัฒนา ว่าวสวยงาม ว่าวนานาชาติ งานแสดงหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์และมหรสพ
งานเครื่องเคลือบพันปีประเพณีบ้านกรวด จัดขึ้นในต้นเดือนเมษายนของทุกปี ที่สนาม หน้าอำเภอบ้านกรวด ในงานมีนิทรรศการเครื่องเคลือบโบราณ การประกวดเครื่องเคลือบจำลอง การแสดงวัฒนธรรม ท้องถิ่นไทย-กัมพูชา การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน
งานประเพณีขึ้นเขากระโดง จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีกิจกรรมวิ่ง ภูกระโดงมินิมาราธอน ขี่จักรยานเพื่อสุขภาพ งานโฮปบายละเงี๊ยด (กินเข่ายามค่ำ) พิธีบายสีสู่ขวัญ การแสดงดนตรี กันตรึมพื้นเมือง ชมแสง เสียงตำนานสร้างเมืองบุรีรัมย์ และนมัสการพระคู่เมือง บุรีรัมย์ พระสุภัทรบพิตร
งานกวนข้าวทิพย์ และตักบาตรเทโวโรหณะ จัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษาของทุกปี ที่วัด พระพุทธบาทเขากระโดง มีประชาชนมาทำบุญตักบาตร เป็นจำนวนมาก
งานวันหัวผักกาด ข้าวหอมมะลิ หมี่ยำไทย จัดขึ้นช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ของอำเภอ กระสัง กิจกรรมประกอบด้วยริ้วขบวนวัฒนธรรมไทยสามเผ่า (เขมร ลาว ส่วย) ขบวนหัวผักกาด และ กระยาสารท ขบวนหมี่ยำ ขบวนข้าวหอมมะลิ และผลิตผลทางการเกษตรขบวนผ้าไหม พื้นเมือง
งานเทศกาลข้าวมะลิหอม ปลาจ่อมกุ้ง ชมทุ่งนกประโคนชัย จัดขึ้นในเช่วงประมาณวันที่ 27 ธ.ค. -2 ม.ค. ของทุกปี ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ มีการจัดนิทรรศการ ของส่วนราชการในอำเภอประโคนชัย การประกวดอาหารพื้นบ้านประโคนชัย ภาพยนตร์ การเดิน ผ้าไหมการกุศล จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง เช่น กุ้งจ่อม กระยาสารท สุราพื้นบ้าน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น