สันนิษฐานว่าบริเวณยอดเขาภูเวียงเป็นเมืองที่มีชุมชนอาศัยอยู่มาหลายยุคหลาย สมัย ตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เนื่องจากพบเมืองโบราณหลายแห่ง โดยเฉพาะในเขตอำเภอน้ำพอง พบซากเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย (มีขนาดใหญ่เป็นรองเพียงเมืองนครชัยศรีเท่านั้น)
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี เมืองภูเวียงมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของนครเวียงจันทน์ ตั้งอยู่บนเส้นทางการคมนาคมระหว่างนครเวียงจันทน์กับกรุงศรีอยุธยาและกรุง ธนบุรี ในขณะนั้นอิทธิพลของอาณาจักรขอมได้เสื่อมลง ประกอบกับชุมชนเมืองต่างๆ ทางภาคอีสานได้รับผลกระทบจากภัยสงครามและภัยอื่นๆ จนผู้คนส่วนมากต้องอพยพหนีภัยและละทิ้งบ้านเมืองไป เมืองในแถบนี้หลายเมืองจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้าง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนคำเรียก "เมือง" เป็น "จังหวัด" และในปี พ.ศ. 2507 มีการสร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ขึ้นที่สนามบินเก่า อยู่ห่างจากที่เดิมประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "ศูนย์ราชการ" และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
จังหวัดขอนแก่นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ 5 กิ่งอำเภอ ได้แก่
|
|
การเดินทางสู่จังหวัดขอนแก่น
ขอนแก่นอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 449 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดขอนแก่นได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน
- โดยรถไฟ :
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดขอนแก่นทุกวัน ทั้งรถเร็วและรถด่วน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-9 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 เว็บไซต์ www.railway.co.th - โดยรถยนตร์ :
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาไปจนถึงจังหวัดขอนแก่น - โดยรถประจำทาง :
มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490
ในตัวจังหวัดขอนแก่นมีรถชนิดต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม
- รถสองแถว มีวิ่งบริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถวไปเที่ยวได้ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ คิดราคาวันละ 1,000-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง
- รถสามล้อเครื่องและมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย
จังหวัดขอนแก่นมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียงมากมายและหลากหลายรูป แบบ โดยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติน้ำพอง อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อุทยานแห่งชาติภูเวียง เขื่อนอุบลรัตน์ บึงแก่นนคร บึงทุ่งสร้าง พัทยา 2 บางแสน 2 หาดจอมทอง หมู่บ้านเต่า อุทยานกล้วยไม้ป่าช้างกระ วัดป่ามัญจาคีรี ผานกเค้า และสวนสาธารณะประตูเมือง
เทศกาลและงานประเพณีจังหวัดขอนแก่น ขอนแก่นเป็นจังหวัดหนึ่งที่เต็มไปด้วยสีสันหลากหลาย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และแหล่งธรรมชาติ อีกทั้งผู้คนในท้องถิ่นก็ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมและประเพณีดั้งเดิมอันงดงาม ไว้ได้อย่างเข้มแข็ง ตลอดทั้งปีจึงมีการจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลอง และงานประเพณีที่สำคัญ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศหลายงาน โดยมีงานเด่นดังประจำปีที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด คือ
1. เทศกาลดอกคูณเสียงแคน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 -15 เมษายน ของทุกปี บริเวณบึง แก่นนคร ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และชุมนุมสังสรรค์ของชาวขอนแก่น ช่วงเวลาจะจัด ในช่วงระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายนของทุกปี ความสำคัญเป็นงานที่จัดขึ้น เพื่อชุมนุมสังสรรค์ของ ชาวขอนแก่น ในงานนี้จะตกแต่งด้วยดอกไม้หลากสี เพื่อความสวยงามและแนวคิดสร้างสรรค์ จุดเด่นของงานจะเป็นความงามของขบวนรถบุปผาชาติเสียงเพลงและสาวงาม
ความเป็นมาของถนนข้าวเหนียว
แต่เดิม จังหวัดขอนแก่น ไม่ค่อยมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ก็อยู่ห่างจากตัวเมือง ทำให้เมื่อมีการจัดงานประเพณีต่างๆ จึงไม่มีผู้มาเยือนมากมายนัก เทศบาลนคร ขอนแก่น มีความคิดที่จะผลักดันให้ จังหวัดขอนแก่นให้เป็นสุดยอดงานสงกรานต์อีสาน จึงได้ เสนอถนนสายหลักที่เล่นน้ำสงกรานต์ได้สนุกสนาน เช่นเดียวกับถนนข้าวสารที่กรุงเทพฯ จึงใช้ชื่อ สถานที่เล่นสงกรานต์ที่ขอนแก่นว่า "ถนนข้าวเหนียว" เพื่อรองรับการเล่นสงกรานต์ของคน ขอนแก่น คนภาคอีสานและคนจากที่อื่นๆ ในปี 2545 โดยกำหนดสถานที่ที่จัดเป็น ถนน ข้าวเหนียวขึ้นที่ บริเวณถนนหลังสำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็น อย่างดีจากประชาชนชาวขอนแก่นและใกล้เคียงแต่เนื่องจากถนนดังกล่าวมีความคับแคบ
การจัดงานในปี 2546 จึงย้ายมาอยู่ที่ถนนศรีจันทร์ ซึ่งมีกิจกรรมจัดขึ้นให้สนุกสนานกัน เต็มที่ตั้งแต่วันที่ 13 - 15 เมษายน โดยมีเวทีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ทำให้ถนนศรีจันทร์แห่งนี้ มีสีสันแห่งความสนุกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงได้ปรับรูปแบบการจัดงานเป็น "สุดยอดสงกรานต์ อีสานเทศกาลดอกคูนเสียงแคน และถนนข้าวเหนียว" โดยแบ่งการจัดกิจกรรมเป็น 2 โซนคือ บริเวณบึงแก่นนคร เป็นโซนของวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ส่วนที่ถนนข้าวเหนียว (ถนน ศรีจันทร์) เป็นโซนกิจกรรมตามสมัยนิยม ทำให้งานสงกรานต์ที่จังหวัดขอนแก่น ได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ หลั่งไหลมาเที่ยวสงกรานต์เพิ่มขึ้นทุกปี จนได้รับ การบรรจุให้เป็นหนึ่งในกิจกรรมสุดยอดประเพณีสงกรานต์ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ประชาชน ให้ความสนใจมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก
2. งานเทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยว จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงปลายเดือน พฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคม เป็นเวลา 10 วัน 10 คืน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัด (ช่วงเวลา จะจัดเป็นประจำทุกๆ ปีในระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคม บริเวณสนามกีฬา กลางจังหวัด) งานเทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยวนี้ สืบเนื่องมาจากประชาชนในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ มีอาชีพรองที่นอกเหนือจากการทำนา คือการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าต่างๆ ซึ่งทาง ราชการได้ให้การสนับสนุน จนจังหวัดขอนแก่นเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมที่มีชื่อเสียง ประกอบกับมี ประเพณีการผูกเสี่ยว ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของภาคอีสาน ที่มุ่งให้คนรุ่นเดียวกันรักใคร่ เป็นพี่เป็นน้องช่วยเหลือกันเรียกว่า "คู่เสี่ยว" เพื่อมุ่งส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหม และรักษาขนบ ธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้ในงาน จะมีขบวนแห่คู่เสี่ยวและพานบายศรีของอำเภอต่างๆ มีพิธีผูก เสี่ยวการประกวดผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน งานพาข้าวแลง (การรับประทานอาหารค่ำแบบพื้นเมืองอีสาน) การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการออกร้าน
ความสำคัญประเพณีผูกเสี่ยว เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสาน ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ บรรพบุรุษคำว่า "เสี่ยว" หมายถึงเพื่อนรัก เพื่อนสนิท ที่เกื้อกูลและเอื้ออาทรต่อกันร่วมสุขร่วมทุกข์ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันเหมือนญาติสนิท บางทีเรียกว่า "เพื่อนตาย" ก็มี จังหวัดขอนแก่น จึงขอ เชิญชวนชาวอีสานทุกคนได้ร่วมใจผูกเสี่ยว เพื่อสร้างสัมพันธภาพแห่งความรักความผูกพันสืบทอด มรดกวัฒนธรรมอันดีงามของชาวอีสาน ในงานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาด ขอนแก่น
3. เทศกาลไหว้พระธาตุขามแก่น จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันเพ็ญเดือนหก (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน6) ณ วัดเจติยภูมิ เป็นงานเฉลิมฉลองพระธาตุ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะพระธาตุ คู่บ้านคู่เมือง ในงานมีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ
1. เทศกาลดอกคูณเสียงแคน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 -15 เมษายน ของทุกปี บริเวณบึง แก่นนคร ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และชุมนุมสังสรรค์ของชาวขอนแก่น ช่วงเวลาจะจัด ในช่วงระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายนของทุกปี ความสำคัญเป็นงานที่จัดขึ้น เพื่อชุมนุมสังสรรค์ของ ชาวขอนแก่น ในงานนี้จะตกแต่งด้วยดอกไม้หลากสี เพื่อความสวยงามและแนวคิดสร้างสรรค์ จุดเด่นของงานจะเป็นความงามของขบวนรถบุปผาชาติเสียงเพลงและสาวงาม
แต่เดิม จังหวัดขอนแก่น ไม่ค่อยมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ก็อยู่ห่างจากตัวเมือง ทำให้เมื่อมีการจัดงานประเพณีต่างๆ จึงไม่มีผู้มาเยือนมากมายนัก เทศบาลนคร ขอนแก่น มีความคิดที่จะผลักดันให้ จังหวัดขอนแก่นให้เป็นสุดยอดงานสงกรานต์อีสาน จึงได้ เสนอถนนสายหลักที่เล่นน้ำสงกรานต์ได้สนุกสนาน เช่นเดียวกับถนนข้าวสารที่กรุงเทพฯ จึงใช้ชื่อ สถานที่เล่นสงกรานต์ที่ขอนแก่นว่า "ถนนข้าวเหนียว" เพื่อรองรับการเล่นสงกรานต์ของคน ขอนแก่น คนภาคอีสานและคนจากที่อื่นๆ ในปี 2545 โดยกำหนดสถานที่ที่จัดเป็น ถนน ข้าวเหนียวขึ้นที่ บริเวณถนนหลังสำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็น อย่างดีจากประชาชนชาวขอนแก่นและใกล้เคียงแต่เนื่องจากถนนดังกล่าวมีความคับแคบ
การจัดงานในปี 2546 จึงย้ายมาอยู่ที่ถนนศรีจันทร์ ซึ่งมีกิจกรรมจัดขึ้นให้สนุกสนานกัน เต็มที่ตั้งแต่วันที่ 13 - 15 เมษายน โดยมีเวทีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ทำให้ถนนศรีจันทร์แห่งนี้ มีสีสันแห่งความสนุกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงได้ปรับรูปแบบการจัดงานเป็น "สุดยอดสงกรานต์ อีสานเทศกาลดอกคูนเสียงแคน และถนนข้าวเหนียว" โดยแบ่งการจัดกิจกรรมเป็น 2 โซนคือ บริเวณบึงแก่นนคร เป็นโซนของวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ส่วนที่ถนนข้าวเหนียว (ถนน ศรีจันทร์) เป็นโซนกิจกรรมตามสมัยนิยม ทำให้งานสงกรานต์ที่จังหวัดขอนแก่น ได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ หลั่งไหลมาเที่ยวสงกรานต์เพิ่มขึ้นทุกปี จนได้รับ การบรรจุให้เป็นหนึ่งในกิจกรรมสุดยอดประเพณีสงกรานต์ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ประชาชน ให้ความสนใจมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก
ความสำคัญประเพณีผูกเสี่ยว เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสาน ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ บรรพบุรุษคำว่า "เสี่ยว" หมายถึงเพื่อนรัก เพื่อนสนิท ที่เกื้อกูลและเอื้ออาทรต่อกันร่วมสุขร่วมทุกข์ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันเหมือนญาติสนิท บางทีเรียกว่า "เพื่อนตาย" ก็มี จังหวัดขอนแก่น จึงขอ เชิญชวนชาวอีสานทุกคนได้ร่วมใจผูกเสี่ยว เพื่อสร้างสัมพันธภาพแห่งความรักความผูกพันสืบทอด มรดกวัฒนธรรมอันดีงามของชาวอีสาน ในงานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาด ขอนแก่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น