- เมืองเชียงเหียน (บ้านเชียงเหียน อำเภอเมืองมหาสารคาม)
- เมืองฟ้าแดด (บ้านฟ้าแดดสูงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์)
- เมืองสีแก้ว (บ้านสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
- เมืองเปือย (บ้านเมืองเปือย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
- เมืองทอง (บ้านเมืองทอง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
- เมืองหงษ์ (บ้านเมืองหงษ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน)
- เมืองบัว (บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย)
- เมืองคอง (อยู่บริเวณอำเภอเมืองสรวง อำเภอสุวรรณภูมิ)
- เมืองเชียงขวง (บ้านจาน อำเภอธวัชบุรี)
- เมืองเชียงดี (บ้านโนนหัว อำเภอธวัชบุรี)
- เมืองไพ (บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ)
ในพุทธศตวรรษ ที่ 16 วัฒนธรรมจากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามา ปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่มาก เช่น ปรางค์กู่กาสิงห์ ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนา ที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ ทำจากหินทรายและโลหะเป็นจำนวนมาก หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาดหายไป ประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ดพร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คนได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์
ในปี พ.ศ. 2450 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบริเวณร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือ เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์
ในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ มณฑลร้อยเอ็ดจึงมีเขตปกครอง 3 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์
ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอมาขุดลอกบึงเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัด ร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้
การเดินทางสู่เมืองร้อยเอ็ด
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 512 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดร้อยเอ็ดได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง และรถไฟ
- โดยรถไฟ:
จากกรุงเทพฯ ไปลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถยนต์โดยสารเข้าจังหวัดร้อยเอ็ด ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง มีรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงไปขอนแก่นทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690 เว็บไซต์ www.railway.co.th - โดยรถยนตร์:
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านสระบุรี นครราชสีมา แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านมหาสารคาม จนถึงจังหวัดร้อยเอ็ด รวมระยะทาง 512 กิโลเมตร - โดยรถประจำทาง:
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ร้อยเอ็ด ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 เว็บไซต์ www.transport.co.th
การเดินทางภายใน ร้อยเอ็ด
ในตัวเมืองร้อยเอ็ดมีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งร้อยเอ็ด โทร. 0-4351-1939, 0-4351-2546 นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่ง
แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ดมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ วิถีชีวิตผู้คน โดยมีสถานที่ที่น่าสนใจ เช่น กู่พระโกนา ปรางค์กู่ หรือปราสาทหนองกู่ กู่กาสิงห์ วัดจักรวาลภูมิพินิจ วัดไตรภูมิคณาจารย์ บ้านหวายหลึม วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม บึงพลาญชัย สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ ทุ่งกุลาร้องไห้ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ บึงเกลือ หรือทะเลอีสาน เป็นต้น
ร้อยเอ็ดมีงานเทศกาลและประเพณีที่น่าสนใจหลายอย่าง มีงานเด่นดังประจำปีที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด คือ งานประเพณีกินข้าวปุ้นบุญผะเหวด งานประเพณีการแข่งเรือ ที่บึงพลาญชัย งานประเพณีแห่เทียนพรรษา งานประเพณีบุญบั้งไฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น